thaipavilion

GLOBALIZATION...PLEASE SLOWDOWN

Saturday 16 June 2007

Being Sand & City of Ghosts





ซ้าย : Apisak Sonjod
กลาง : Nipan Oranniwesna
ขวา : Amrit Chusuwan




Being Sand by Amrit Chusuwan














City of Ghosts Nipan Oranniwesna











Wednesday 13 June 2007

Friday 1 June 2007

Programme thaipavilion

The Office of Contemporary Art and Culture,
Ministry of Culture, Thailand
requests the pleasure of your presence at the official
opening of The Thai Pavilion
At La Biennale Di Venezia the 52nd International Art
Exhibition, 2007.


Globalization…Please Slow Down
เชิญคุณก่อน...ขอหยุดคิด Siete Primi…Fermo a Pensarmi

Friday, June 8th 2007, at 4.00 p.m.
at the S. Croce 556 Fondamenta S.Simeon Piccolo
Venezia,Italy.
Thai Pavilion Showcase

“Being Sand” The V.D.O. Installation in the sand room
Artist by Amrit Chusuwan

“City of Ghost” Talcam,Sheet,Wood Construction
Artist by Nipan Oranniwesna

To be presided over by M.R. CHAKRAROT CHITRABONGS
Distinguished Scholar of Chulalongkorn University
Former Permanent Secretary for Culture

Exhibition period: June 9 to November 21, 2007
10.00 a.m. – 2.00 p.m. and 4.00 p.m. – 6.00 p.m. (Jun.9 – Sep. 25)
10.00 a.m. – 2.00 p.m. (Sep. 25 – Nov.21)
Closed on Mondays and Tuesdays

Commissioned by Prof.Dr. Apinan Poshyananda, Office of
Contemporary Art and Culture, Ministry of Culture
Thailand.


Curated by Apisak Sonjod

Programme

4.00 Register Guests
4.15 Showcase Thai Cultures
- Thai Classical Dance
- Mauy Thai (Thai Boxing)
- Thai Cuicine
4.30 Speech & Announcement
By Commissioner of Thai Pavilion
Opening Speeches by M.R.Chakrarot Chitrabong
5.00 Thai food

Saturday 26 May 2007

Curator note


Exhibition: Globalization…Please Slow Down

This exhibition aims to urge viewers to re-think the process of adopting a foreign culture, concept or philosophy of life, whether its flow is east to west, or vice versa. Without careful consideration or proper selection, we may end up feeling lost, or worse, still feeling like we are losing our own identity. Therefore, we should “pause” and “consider” it thoroughly. In reality, there are people worldwide who quickly open their arms to new cultures, if that is the case, we would like to suggest everyone to stay “still” .In this great “amazing race” of life, we often find ourselves being players in a game, controlled by others. Our every more, thought and decision is planned by careful marketing strategies.

In order to prevent ourselves from losing our identity, we should pause and give ourselves a little time to review on what we already have and consider borrowing just only the things that we may need in order to advance in the modern world. This process will not only present our Thai way of life, Buddhism, and ascent traditions from dying, it would make us the real “winners” of the race, when we real “winners” of the race, when we learn, for one, to stay “still”.


“Being Sand” by Mr. Amrit Chusuwan


The artist presents his “Sand” after long research on its pattern and concentrated content because the process of Buddhist philosophy appeals to the enthusiastic seeker to change. If the damage from one’s own destruction has not yet occurred, then how can wisdom thrive?

The sand, carefully selected by the artist, is used as a pathway to the mind. The viewers are asked to walk barefoot through it.

The tightly compressed sand to explain words and the great philosophy hidden inside the audience. It is also a matter for the content to be sentimental in which we believe is existing in the human brain, sending its touch through our soul that we normally ignore. From the first art exhibition, the audience seemed to be amazed by the touch that they experienced. In fact, sand is always sand, but the manner in which it is placed and the intention of the artist, Amrit to use it as an interpretation about the truth of emptiness that has made those who experience it understand the Buddhist truth of emptiness, and feel it inside themselves.

“City of Ghosts” by Nipan Oranniwesna

Life and Living It” is clad by the vision and pulls itself together by the illusion amidst the diversity of races, nationalities, or identities, and is over-shadowed by the act of speaking and the complicated conditions of society, economics, and politics. It is undeniable that life is sailing amidst occurrences and changes of natural phenomenon

The work “City of Ghosts” of Nipan is interested to presenting the image of the city and way of life that each member experiences. The underlining notion is that the occurrence comes into existence because humans are the main cause.

The building of a city by the power that could not be seen by one’s eyes warns us to rethink about the existing status in which it cannot be separated from our surrounding social environment. Here, humans destroy each other more than nature does. We are in a nourishing land that is an ideal ‘place’ everybody dreams of. But the artist, Nipan, has presented the ‘place’ in a fragile way to the environment and it is ready to disperse into dust in a blink of the eye. Every thing is under construction. It lacks patterns and proper way of thinking on one’s own,not governed by other influences. As the chance for the locals to think is limited; hence, expressing one’s opinion is in itself, showing off one’s ignorance. Norms and values are being snatched or evaluated in a way that ‘one has no time even to think.’

Friday 25 May 2007

เวนิช เบียนนาเล่ จากประเทศไทย 2 (เราถึงแล้ว)

2. เราเริ่มงานวันแรกด้วยข้อความในกระดาษจากการประชุมครั้งสุดท้ายที่หอศิลป์ตาดู มีประโยคทิ้งท้ายว่า“เมื่อไปถึงเวนิส เราจะเริ่มทำงานเลย” ในวันนี้เราวางแผนการทำงานและอธิบายงานให้ทีมงานที่ไม่ได้มาเห็นพื้นที่จริงๆเหมือนเรานั้นได้รับรู้ หลังจากหลายคนไหลบิดเบี้ยวจากการขนสัมภาระลงจากเครื่องและขนขึ้นรถประจำทางอีกรอบถึงตอนนี้ทุกคนได้หายใจเอาอากาศของอิตาลีไว้เต็มปอด กระเป๋าขนาด 30 กิโล จำนวนเกือบ 20ใบ นั้นลำเลียงของที่จำเป็นต้องใช้ในงาน ของใช้ส่วนตัวของทีมงาน และของแจกสำหรับผู้ที่สนใจมางานเราในวันเปิด เช่นเสื้อจากหนังสือลิซ่า ทำมาแจก 100 ตัว กระเป๋าผ้าใช้งบบางส่วนจากวาสนา คอลเล็คชั่น และรวมทั้งอาหารและเครื่องปรุงที่คนไทยในต่างแดนนั้นเฝ้าฝันถึง.....ทุกคนตื่นตาตื่นใจเมื่อเราเปิดประตูศาลาไทย ซึ่งความจริงสถานที่แสดงงานปีนี้ห่างจากคำว่าศาลาไปนานแล้ว แต่เนื่องจากอะไรก็แล้วแต่ผมยังชอบคำนี้อยู่ มันดูมีความเป็นไทยๆ และเป็นสถานที่ของพวกเราที่ไว้ต้อนรับผู้คนอย่างมีน้ำใจ แต่หากไม่ใช้คำว่าศาลาไทยจะใช้คำอะไรดีที่เป็นกลางๆหน่อย เช่น บ้านไทย ดูเฉพาะ ไปหน่อย ...ก็น่าจะใช้ทับศัพท์ไปเลยว่า “ไทย พาวิเลียน” เมื่อทุกคนได้เห็น ไทยพาวิเลียน เต็มตา และอยู่ใกล้กับการเข้าออกเกาะเวนิสขนาดนี้ทำให้ทุกคนเพิ่มความ ภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงผลงานศิลปะอันเป็นตัวแทนของไทยในครั้งนี้ นายหนุ่ม นายเต้ รีบเข้าไปเดินใช้สายตาตาประมาณการ ทำความรู้จักกับสถานที่ เพราะเมื่อครั้งเตรียมงานเห็นก็แต่ในภาพถ่ายและในวีดีโอเท่านั้น ซึ่งจะว่าไปก็ไม่ต่างอะไรกับพวกเราที่เป็นภัณฑารักษ์ และศิลปินเท่าไหร่ เพราะเมื่อได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนเราต้องเดินทางมาเพื่อดูสถานที่เพื่อจัดแสดงนั้นพวกเราก็ไม่สามารถที่จะทำตัวเป็นภัณฑารักษ์หรือศิลปินอย่างเดียวได้เนื่องเพราะสถานที่ที่ผู้จัดได้เตรียมไว้ให้นั้นเป็นพื้นที่คล้ายอพาทเม็นท์ ซื่งก็ถือว่าเป็นการมองที่ชาญฉลาด เพราะเราสามารถพักและทำงานในสถานที่เดียวกันได้ซึ่งก็จะประหยัดเป็นอันมาก และเมื่อดูจากรูปถ่ายนั้นทั้งทีมสร้างผลงานก็เห็นตรงกันว่าทำงานได้ เพราะในเวนิสทุกอย่างก็มีราคาทั้งสิ้น อะไรประหยัดได้เราก็ประหยัด เมื่อแรกคิดเมื่อได้รับคัดเลือกโดยการบอกปากเปล่าและอย่างไม่เป็นทางการนั้นเราก็ยังหวั่นใจว่าตกลงเราได้รับคัดเลือกจริงๆหรือเปล่า และยิ่งได้รับสารบางอย่างจากทีมงานผู้จัดถึงเรื่องการส่งเอกสารช้าอาจจะโดนพิจารณาถูกตัดสิทธิ์ ทำให้การหวั่นใจในเรื่องการสื่อสารหรือการใช้คำพูดที่คลุมเครือของโครงการนี้จะทำให้เกิดปัญหาได้ ฉนั้นจึงได้แต่เตือนทีมงานว่าเราอยู่ในขั้นตอนไหนแล้วนั่นคือ เราได้รับพิจารณาคัดเลือกแล้ว แต่ยังไม่สามารถประกาศอย่างเป็นทางการได้ อันคำพูดของเราในฐานะภัณฑารักษ์จะยืนยันได้ก็เป็นเพียงชั่วระยะเวลา เพราะคงมีแต่การได้ยินที่ไร้เสียงเกิดขึ้น เมื่อเราได้เดินทางมาดูสถานที่จึงเป็นที่มั่นได้ว่า พี่ครับเราได้รับการคัดเลือกจริงๆครับ

Thursday 24 May 2007

คลี่ธงไทย ในเวนิสตะวันตก ตอนที่1

ท่ามกลางความง่อนแง่นและความโคลงเคลงบนเครื่องบินของสมาชิกจากประเทศไทยที่พากันหอบหิ้วสัมภาระที่เมื่อชั่งน้ำหนักแล้วเกินไปกว่า 100 กิโลกรัมในสนามบิน สุวรรณภูมิ ด้วยความภาคภูมิในฐานะตัวแทนประเทศไทยไปร่วมงานเทศกาลศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 52 เพราะทุกคนที่ร่วมกันเดินทางมานั้นต่างเข้ามาร่วมงานด้วยความตั้งใจจริง เพราะนอกจากคนที่ได้เตรียมการเพื่อจะไปช่วยติดตั้งงาน และทำงานสร้าง ปรับปรุงพื้นที่กั้นเป็นห้องแสดงงานซึ่งต้องใช้กำลังคน และระยะเวลาที่มีอยู่ประกอบกับงบประมาณที่มีอยู่นั้นจำกัดทางทีมงานต้องลดจำนวนคนลง แต่ด้วยความตั้งใจและอยากเข้าไปมีส่วนร่วมกับงานที่ถือว่ายิ่งใหญ่และเป็นความฝันของคนทำงานศิลปะทุกคนเราจึงได้ทีมงานที่อุทิศนอกเหนือจากแรงกายแล้วยังออกค่าใช้จ่ายส่วนตัวเพื่อเดินทางไปช่วยงาน เบ็ดเสร็จทีมงานที่เดินทางมาด้วยกันทั้งสิ้น 11 ชีวิต ด้วยความเชื่อที่ว่า ยังไงเรามาเจอคนไทยที่เวนิสแล้ว ไม่อดตายแน่ และได้งานที่ดีอย่างแน่นอน และก็เป็นเช่นนั้นเพราะที่เวนิสนั้นมีคนไทยมาตั้งรกรากและประกอบอาชีพอาทิเช่น ทำร้านอาหารหรือเป็นแม่ครัวในโรงแรม และมีธุรกิจบ้านพักอาศัย ด้วยการที่เราต้องออกค่าอาหารเองจากเบี้ยเลี้ยงที่ได้ทำให้เราต้องตกลงกันสำหรับคนที่ไม่ได้เบี้ยเลี้ยงจากรัฐบาล ช่วยกันออกค่าใช้จ่ายให้ ซึ่งทุกอย่างก็ผ่านไปได้ด้วยดีครับ เมื่อลงเรือลำเดียวกันแล้ว ทุกอย่างที่เกิดขึ้นก็ต้องช่วยกันหลายอย่างในการทำงานคราวนี้นั้นไม่คล่องตัวเท่าที่คิดไว้แต่การประเมินสถานการณ์ไว้ล่วงหน้ากับประสบการณ์ของศิลปินช่วยเราได้เยอะ เมื่อมาถึงเวนิสและเข้าทำงานแล้วนั้น “ปัญหาที่เกิดขึ้น จะเปลี่ยนเป็น งาน ที่เราต้องทำทันที” ที่นี่ท่ามกลางเวลาที่ไหลเอื่อยๆเราต้องคิดทุกอย่างให้พร้อม เพราะจังหวะที่เราจากมากับจังหวะที่เราดำรงอยู่ในขณะนี้นั้น ยังร้อยเข้าด้วยกันไม่ได้ แต่ด้วยความตื่นตัวของทีมงานทุกคนตั้งแต่เพิ่งจบหมาดๆจนกระทั่งผมสองสี นั้นช่วยกันกระตุ้นเตือนให้พวกเรารู้ว่ามาทำอะไรที่นี่ และภารกิจที่ต้องเสร็จสิ้นอย่างสวยงามนั้นคืออะไร